วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัตรปฏิบัติและสีลพระโพธิสัตว์แนวมหายาน


หนทางแห่งการบรรลุธรรมของนิกายมหายาน ปณิธานของฝ่ายมหายานที่พุทธมามกะ ซึ่งเป็นนักปฏิบัติจะต้องยึดถือเป็นอุดมคติประจำใจมี 4 ข้อ คือ
1. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดไป
2. เราจะศึกษาธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
3. เราจะโปรดสัตว์ทั้งหลาย
4. เราจะต้องบรรลุพุทธภูมิพุทธมามกะนักปฏิบัติธรรมของมหายานต้องมุ่งปรารถนาพุทธภูมิเป็นสำคัญ การที่จะไปพุทธภูมิได้นั้นจะต้องสร้างบารมีธรรม (ปารมิตา) ให้มากพอที่จะสำเร็จพระโพธิญาณได้ บารมีธรรมนี้ก็คือ คุณชาติที่ทำให้ข้ามถึงฝั่งพระนิพพานบารมี 6 (ปารมิตา 6) มีดังนี้ คือ
1. ทาน เป็นคู่ปรับของโลภะ
2. ศีล
3. ขันติ เป็นคู่ปรับของโทสะ
4. วิริยะ
5. สมาธิ เป็นคู่ปรับของโมหะ
6. ปัญญาทานบารมี ในมหายานหมายถึงทาน 3 ชนิด คือ วัตถุทาน อภัยทาน และธรรมทาน ซึ่งเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง เพราะเป็นการให้ปัญญาศีลบารมี ในมหายานนั้นมีสิกขาบท 250 ข้อ ศีลโพธิสัตว์ 58 ข้อ ซึ่งแบ่งเป็นครุกาบัติ 10 ข้อ และลหุกาบัติ 48 ข้อ จากหนังสือพระพุทธศาสนามหายานของคณะสงฆ์จีนนิกาย
ครุกาบัติ 10
1. ผู้ฆ่าชีวิตมนุษย์ให้ตายด้วยมือตนเอง ใช้ผู้อื่นกระทำ หรือเป็นใจสมรู้ ตลอดจนฆ่าชีวิตสัตว์เล็กใหญ่ให้ตาย ต้องสถานโทษหนัก
2. ผู้ถือเอาของผู้อื่น มีราคา 5 มาสก ตลอดจนลักเอาของไม่มีค่าที่เจ้าของไม่อนุญาตด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
3. ผู้เสพเมถุน นำนิมิตล่วงเข้าไปในทวารหลัก ทวารเบา หรือทางปากของผู้ชาย หรือผู้หญิงตลอดจนสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย ต้องสถานโทษหนัก
4. ผู้อุตตริมนุษยธรรม อวดรู้ฌานรู้มรรคผลที่ไม่มีในตน ตลอดจนพูดมุสาวาทที่ไม่ใช่ความจริง กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
5. ผู้ผลิตสุราเมรัยน้ำเมา ตลอดจนยาดองสุราที่ไม่ใช่รักษาโรคโดยตรง กระทำหรือผลิตเองหรอใช้คนอื่นกระทำหรือผลิต ต้องสถานโทษหนัก
6. ผู้กล่าวร้ายบริษัทสี่ ใส่ไคล้อาบัติชั่ว ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนศึกษามานะ (สิกขามานา) สามเณร และสามเณรี โดยไม่มีมูลด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
7. ผู้ยกตนข่มท่าน ติเตียนนินทาภิกษุอื่น ยกย่องตนเองเพื่อลาภด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
8. ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น ไม่มีมุทิตาจิต ตลอดจนไม่เอื้อเฟื้อต่อผู้ยากจน ขอทานกลับขับไล่ไสส่ง กระทำด้วยตนเอง หรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
9. ผู้มุทะลุฉุนฉียว ตลอดจนก่อการวิวาท ใช้มีด ใช้ไม้ ใช้มือทุบตีภิกษุอื่น กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
10. ผู้ประทุษร้ายต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กระทำด้วยตนเองหรือใช้ผู้อื่นกระทำ ต้องสถานโทษหนัก
ครุกาบัติ 10 ข้อนี้ผู้ใดล่วงละเมิดไม่ได้ถือว่าเป็นปาราชิก
ลหุกาบัติ 48
1. ผู้ไม่เคารพ ผู้มีอาวุโส ชั้นอาจารย์ของตน
2. ผู้ดื่ม สุรา เมรัย
3. ผู้บริโภค โภชนาหารปลาและเนื้อ
4. ผู้บริโภคผักมีกลิ่นแรงฉุน ให้โทษเกิดราคะ 5 ชนิด คือ 1. หอม
2. กระเทียม 3. กุไฉ 4. หลักเกี๋ย 5. เฮงกื่อ
5. ผู้ไม่ตักเตือน ผู้ต้องอาบัติให้แสดงอาบัติ
6. ผู้ไม่บริจาค สังฆทานแก่ธรรมกถึก
7. ผู้ไม่ไปฟังการสอนธรรม
8. ผู้คัดค้าน - พระพุทธศาสนาในมหายานนิกาย
9. ผู้ไม่ช่วยเหลือ - คนป่วย
10. ผู้เก็บอาวุธ - สำหรับฆ่ามนุษย์หรือสัตว์ไว้ในครอบครอง
11. ผู้เป็นทูตสื่อสารในทางการเมือง
12. ผู้ค้า - มนุษย์ไปเป็นทาส ขายสัตว์ไปให้เขาฆ่าหรือใช้งาน
13. ผู้พูดนินทาใส่ร้ายผู้อื่น
14. ผู้วางเพลิงเผ่าป่า
15. ผู้พูดบิดเบือนข้อความพระธรรมให้เสื่อมเสีย
16. ผู้พูดอุบายเพื่อประโยชน์ตน
17. ผู้ประพฤติข่มขี่บังคับเขาให้ทานวัตถุ
18. ผู้อวดอ้างตนเป็นอาจารย์เมื่อตนเองยังเขลาอยู่
19. ผู้พูดกลับกลอกสองลิ้น
20. ผู้ไม่ช่วยสัตว์ เมื่อเห็นสัตว์นั้นตกอยู่ในภยันตราย
21. ผู้ผูกพยาบาท คาดแค้น
22. ผู้ทะนงตัว ไม่ขวนขวายศึกษาธรรม
23. ผู้เย่อหยิ่ง กระด้างก้าวร้าว
24. ผู้ไม่ศึกษาพระธรรม
25. ผู้ไม่ระงับการวาทเมื่อสามารถสงบได้
26. ผู้ละโมภเห็นแก่ตัว
27. ผู้น้อมลาภที่เขาถวายสงฆ์อื่นมาเพื่อตน
28. ผู้น้อมลาภ ที่เขาจะถวายสงฆ์ไปตามชอบใจ
29. ผู้ทำเสน่ห์ยาแฝดฤทธิ์เวท ให้คนคลั่งไคล้
30. ผู้ชักสื่อ ให้ชายหญิงเป็นผัวเมียกัน
31. ผู้ไม่ช่วยเหลือ ไถ่ค่าตัวคนให้พ้นจากเป็นทาสเมื่อสามารถ
32. ผู้ซื้อขาย อาวุธสำหรับฆ่ามนุษย์และสัตว์
33. ผู้ไปดู กระบวนทัพมหรสพ และฟังขับร้อง
34. ผู้ไม่มีขันติ อดทนสมาทานต่อศีล
35. ผู้ปราศจากกตัญญู ต่อบิดา มารดา อุปัชฌาอาจารย์
36. ผู้ปราศจากสัตย์ต่อคำปฏิญาณ จะตั้งอยู่ในพรหมจรรย์
37. ผู้ปฏิบัติธุดงควัตรในถิ่นที่มีภยันตราย
38. ผู้ไม่มีคารวะ ไม่รู้จักต่ำสูง
39. ผู้ไม่มีกุศลจิต ไม่สร้างบุญ สร้างกุศล ทำทาน
40. ผู้มีฉันทาคติ ลำเอียงการให้บรรพชาและอุปสมบท
41. ผู้เป็นอาจารย์สอนด้วยการเห็นแก่ลาภ
42. ผู้กระทำสังฆกรรมแก่ผู้มีมิจฉามรรยา
43. ผู้เจตนา ฝ่าฝืนวินัย
44. ผู้ไม่เคารพ สมุดพระธรรมคัมภีร์
45. ผู้ไม่สงเคราะห์โปรดเวไนยสัตว์
46. ผู้ยืนหรือนั่งที่ต่ำแสดงธรรม
47. ผู้ยอมจำนนต่ออำนาจธรรมโรธี (อำนาจที่ผิดธรรม)
48. ผู้ล่วงละเมิดธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา
หลักแห่งโพธิสัตวยาน
โพธิสัตวยาน (พู่สักเส็ง) คือยานของพระโพธิสัตว์ ซึ่งได้แก่ผู้มีใจคอกว้างขวาง ประกอบด้วยมหากรุณาในสรรพสัตว์ ไม่ต้องการอรหัตภูมิ ปัจเจกภูมิ แต่ปรารถนาพุทธภูมิ เพื่อโปรดสัตว์ได้กว้างขวางกว่า ๒ ยานแรก และเป็นผู้รู้แจ้งในศูนยตาธรรม หลักพระโพธิสัตวยานนั้น ถือว่าจะต้องโปรดสรรพสัตว์ให้หลุดพ้นทุกข์เสียก่อนแล้วตัวเราค่อยหลุดพ้นทุกข์ทีหลัง คือจะต้องชักพาให้สัตว์โลกอื่น ๆ ให้พ้นไปเสียก่อน ส่วนตัวเราเป็นคนสุดท้ายที่จะหลุดพ้นไป นี่เป็นหลักแห่งโพธิสัตวยาน พระโพธิสัตว์
ต้องบำเพ็ญ ทศ ปารมิตา.คือ บารมี 10 ได้แก่
1.ทานปารมิตา หรือ ทานบารมี
2.ศีลปารมิตา หรือ ศีลบารมี
3.กฺษานฺติปารมิตา หรือ ขันติบารมี
4.วีรฺยปารมิตา หรือ วิริยบารมี
5.ธฺยานปารมิตา หรือ ฌานบารมี
6.ปรชฺญาปารมิตา หรือ ปัญญาบารมี
7.อุปายปารมิตา หรืออุบายบารมี
8.ปฺรณิธานปารมิตา หรือประณิธานบารมี
9.พลปารมิตา หรือ พลบารมี
10.ฌานปารมิตา หรือ ญาณบารมี.